วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์



ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. บุคลากร (Peopleware)
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออก เป็นส่วน ประกอบด้วย หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
2. ซอฟแวร์ (Software) หมายถึงโปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ที่ควบคุมการ ทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่องระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
2.2 ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ได้แก่
- ซอฟต์แวร์การจัดการฐานข้อมูล เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วย การจัดการสร้าง ระบบฐานข้อมูล การกำหนดพจนานุกรมข้อมูล สร้างระบบรักษาความปลอดภัย และคงสภาพของระบบข้อมูล เพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เช่น Microsoft Access, Oracle เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็น ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการพิมพ์เอกสาร หรือ รายงานที่มี คุณภาพ เช่น Microsoft Word เป็นต้น - ซอฟต์แวร์ตารางอิเล็กทรอนิกส์[Worksheet] เป็น ซอฟต์แวร์ที่ช่วยใน การคำนวณ ในลักษณะของกระดาษทำการที่มีความสามารถทั้งในด้านการคำนวณใหม่โดยอัตโนมัติ สามารถนำมา ใช้ในการสร้างโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจได้ เช่น Lotus123, Microsoft Excel , Spss เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์กราฟิกเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการนำเสนอรายงาน อย่างมีคุณภาพ อย่างยิ่งสามารถนำเสนอได ้ทั้งตัวเลข ตัวหนังสือ กราฟ เสียง เทคโนโลยีการนำเสนอ แบบหลายสื่อ (Multimedia) เช่น Microsoft PowerPoint เป็นต้น
3. บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้ และดูแล เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น

การเลือกส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มักเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเนื่องจากบางคนอาจไม่มีความรู้เกี่ยว กับคอมพิวเตอร์มากนัก นอกจากนั้นการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่องยังเป็นการลงทุนเพื่อการใช้งาน
ราวสามหรือสี่ปีเป็นอย่างน้อย ถ้าหากคอยติดตามความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมพีซีอยู่ตลอดเวลาจะ
พบว่านวัฒกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้พีซีนั้นกลายเป็นของเก่าภายในเวลาเพียงไม่ถึงปี
การเลือกส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เมนบอร์ด(Main board)
เมนบอร์ดหรือมาเธอร์บอร์ด หากเปิดฝาเคสออก ก็จะพบแผงวงจรขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า
เมนบอร์ด เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ เป็นแผงวงจรหลักในระบบคอมพิวเตอร์

รูป : เมนบอร์ด
ประเภทของเมนบอร์ด
สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้าง ได้ 4 แบบ
1. บอร์ดแบบ AT ลักษณะโครงสร้าง
- สี่เหลี่ยมผืนผ้า
- ขั้วรับไฟมีเพียง 12 ขา
- ใช้สวิทซ์เป็นตัวควบคุม
- ไม่สามารถปิดเครื่องบนคำสั่งทาง
คีย์บอร์ด Shutdown ผ่านทางวินโดวส์ไม่ได้
2. บอร์ดแบบ ATX ลักษณะโครงสร้าง
- เป็นเมนบอร์ดมาตรฐานใหม่บริษัท อินเทลเป็นผู้กำหนดขึ้น
- ลักษณะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มี ความยาวมากกว่าส่วนกว้าง
- มีขนาดเล็กกว่าแบบ AT
- มีการระบายความร้อนที่ดี
- มีการกำหนดสีและช่องต่อที่ต่างกัน
- สั่งปิดเครื่องจากวินโดส์ได้เลย
3. บอร์ดแบบ Micro ATX ลักษณะโครงสร้าง
- จำนวนสล็อตมี 3-4 สล็อต
- ลักษณะคล้ายกับบอร์ด ATX
4. บอร์ดแบบ Flex ATX ลักษณะโครงสร้าง
- มีขนาดเล็ก
- มีอุปกรณ์ Onboard
ประเภทของเมนบอร์ดแบ่งตามรุ่นของซีพียู
การประกอบคอมพิวเตอร์สามารถทำได้หลาย ๆ แบบทั้ง 386 486 Pentium ฯลฯ เพราะฉะนั้น การทำความรู้จักเมนบอร์ดแบบต่าง ๆ แยกตามรุ่นจึงค่อนข้างสำคัญ ซึ่งจะเริ่มต้นกันตั้งแต่เมนบอร์ดรุ่น 386 ถึง Pentium IV ส่วนเมนบอร์ดรุ่นอื่น ๆ ก่อนหน้านั้น เช่น 8086 หรือ 8286 ไม่นิยมใช้งานแล้วใน ปัจจุบันเพราะว่าหาอุปกรณ์และชิ้นส่วนยาก เมนบอร์ดแบบ 386 เมนบอร์ดแบบ 386 จะเป็น AT สำหรับเมนบอร์ดประเภทนี้เป็นเมนบอร์ดที่เก่าแล้ว เริ่มใช้ ตั้งแต่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 386 ประสิทธิภาพการใช้งาน สามารถใช้เล่นคาราโอเกะ NCN ได้ ต้อง เลือกอย่างน้อยประมาณรุ่น 386 DX1-40 ถ้าต่ำกว่านี้ ไม่สามารถใช้งานได้ ส่วนโปรแกรมต่าง ๆ ยัง สามารถใช้งานได้เป็นบางตัว เช่น เกมส์การศึกษาของเด็ก ๆ โปรแกรมบน DOS

รูป : เมนบอร์ดรุ่น 386
ลักษณะทั่วไป
1. ตำแหน่งสำหรับติดตั้งซีพียูบางรุ่นอาจจะบัดกรีซีพียูติดเข้ากับเมนบอร์ด หรืออาจเสียบลง ไปการถอดจะยากพอสมควร ต้องใช้อุปกรณ์ดึงชิพโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะมีซีพียูติดอยู่กับเมนบอร์ดยู่ แล้ว การประกอบยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ เพียงแต่เสียบการ์ดจอการ์ดคอนโทรลเลอร์ของฮาร์ดดิสก์และ ฟล็อปปี้ดิสก์ ต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้าเมนบอร์ด ติดตั้งแรม ก็เป็นอันใช้ได้ 2. ISA (ไอซ่า) สล็อต สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้มีเพียง ISA Slot สำหรับเสียบการ์ดแบบ ISA เท่านั้น 3. ซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งแรมแบบ 30 Pin ซึ่งเป็นแรมรุ่นเก่าสำหรับ 386 และ 486 รุ่นต้น ๆ 4. ตำแหน่งสำหรับต่อไฟจากพาวเวอร์ซัพพลาย เป็นแบบ AT

5. รูสำหรับติดน็อตและหมุนพลาสติกยึดเมนบอร์ดเข้ากับเคส
6. ตำแหน่งไว้สำหรับต่อสายลำโพง (Speaker) สายไฟปุ่มรีเซ็ต (Reset) สายไฟแสดงการ ทำงานของฮาร์ดดิสก์ (Hdd Led) เมนบอร์ดรุ่นเก่า 386 - 486 มีตัวเลือกสำหรับต่อสายสัญญาณอื่น ๆ อีกเช่น Turbo Switch เพื่อปรับความเร็วในการทำงานของซีพียู Key Lock ล็อกคีย์บอร์ดไม่ให้ใครมา แอบใช้เครื่องของเรา แต่สายเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องต่อเลยก็ได้ อาจต่อแค่สาย Speaker และ Reset ก็เพียงพอแล้ว
เมนบอร์ดแบบ 486
จากตัวอย่างเป็นเมนบอร์ด 486DX4-100 ยังได้ว่าเป็นรุ่นที่ยังน่าเล่นอยู่ ไว้ใช้พิมพ์งาน ไว้ใช้ อินเตอร์เน็ตได้ ส่วนโปรแกรมยังมีโปรแกรมสำหรับเครื่องในระดับนี้ให้เลือกใช้อยู่ค่อนข้างมาก เป็นเมนบอร์ดที่เริ่มมีการนำตัวคอนโทรลเลอร์มาติดเข้ากับเมนบอร์ด และได้กลายเป็นมาตรฐานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

รูป : เมนบอร์ดรุ่น 386
ลักษณะทั่วไป
1. ซีพียูเป็นแบบ Socket ตำแหน่งสำหรับติดตั้งซีพียูสะดวกกว่าเดิมไม่ต้องใช้ตัวดึงชิพเหมือน 386 และ 486 รุ่นต้น ๆ เพียงแต่ยกก้านล็อคซีพียูให้ตั้งฉากกับเมนบอร์ด ก็สามารถเปลี่ยนซีพียูได้อย่าง ง่ายดาย
2. Socket สำหรับติดตั้งแรม เมนบอร์ดบางรุ่นจะมีให้เลือกว่าจะติดตั้งแรมแบบ 30 Pin หรือ 72 Pin ซึ่งเป็นแรมใหม่ที่มีความเร็วกว่า
3. สล็อตสำหรับการ์ดต่าง ๆ ในเมนบอร์ดรุ่นนี้บางบอร์ด (รุ่นประมาณ 486FX2) นอกจาก สล็อตแบบ ISA Slot แล้วก็อาจจะมีสล็อตแบบ VL ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าแบบ ISA แต่บอร์ดบางรุ่นเช่นรุ่น 486DX4 จะมีสล็อตแบบ PCI ด้วย เพราะความเร็วสูงขึ้น จึงต้องการบัสหรือทางเดินข้อมูลที่กว้างขึ้น
4. ตำแหน่งสำหรับต่อไฟจากพาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งเป็นแบบ AT
5. มีรูสำหรับติดน็อตและหมุนพลาสติกเมนบอร์ดเข้ากับเคส
6. ตำแหน่งไว้สำหรับต่อลำโพง (Speaker) สายไฟปุ่มรีเซ็ต (Reset) สายไฟแสดงการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์ (Hdd Led) เมนบอร์ดรุ่นเก่า 386 - 486 จะมีตัวเลือกสำหรับต่อสัญญาณอื่น ๆ อีกเช่น Turbo Switch เพื่อปรับความเร็วในการทำงานของซีพียู Key Lock ล็อคคีย์บอร์ดไม่ให้ใครใช้เครื่อง เราได้ แต่สายเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องต่อเลยก็ได้ อาจต่อแค่สาย Speaker และ Reset ก็เพียงพอแล้ว
7. คอนโทรลเลอร์ควบคุมการทำงานของฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดร์ฟ และฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ จะ ถูกออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของเมนบอร์ด
8. มีแบตเตอรี่จ่ายไฟให้เมนบอร์ด
เมนบอร์ดเพนเทียม (Pentium)
เมนบอร์ดแบบนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเมนบอร์ด Socket 7 สำหรับซีพียูอินเทลเพนเทียม 75 233 MHz ซีพียู AMD K5, K6, K6-II, K6-III ซีพียู Cyrix/IBM 6x86 6x86MX และช่วงปลาย ๆรุ่นนี้ ก็ได้มีการสร้างเมนบอร์ดแบบ ATX ขึ้นมาเมนบอร์ดรุ่นนี้มีให้เลือกค่อนข้างหลากหลายมาก เช่น เมนบอร์ดรองรับซีพียูตั้งแต่รุ่น Pentium 75-233 ในส่วนแรมได้มีการพัฒนาแรมแบบ EDO ขึ้นมา แทนที่ SIMM RAM หรือแรมธรรมดาที่ใช้ ๆ กันอยู่ในเครื่อง 486DX4-100 และ Pentium รุ่นต้นๆ เพราะจะมีความเร็วสูงกว่าพอสมควร ส่วนในเมนบอร์ด Pentium รุ่นหลัง ๆ ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นไปอีก โดยออกแบบให้สามารถติดตั้งแรมแบบ SDRAM ได้อีกด้วย แต่ก็ต้องเลือกแบบใดแบบหนึ่งไม่สามารถ ติดตั้งผสมผสานกันได้ การทำงานแบบนี้ทำงานได้เร็วกว่าแบบ EDO และ Simm Ram ซึ่งได้มีการ ออกแบบซ็อกเก็ต สำหรับแรมแบบนี้ในเมนบอร์ดรุ่น VX นอกจากนี้บอร์ดบางรุ่น ก็ได้มีการเพิ่ม การ์ด เสียง การ์ดจอเข้ากับเมนบอร์ด การติดตั้งก็ยิ่งง่ายขึ้นไปอีก เพียงแต่ติดตั้งแรมและซีพียูลงไป ก็ใช้งาน ได้เลยลดความยุ่งยากไปมาก ถือว่าเป็นรุ่นที่ยังน่าเล่น เลือกความเร็วเพนเทียม 166 ขึ้นไป แรม 32 และ 64 ก็ใช้งาน Windows 98 , Ms office97 หรือ 2000 ใช้อินเทอร์เน็ตได้สบาย หรือเลือกซีพียู ของค่ายอื่นๆ ก็มีตัวเลือกให้มากพอสมควรเหมือนกัน เช่น Cyrix 6x86MII-300/333,AMD , K6, K6-II, K6-III เป็นต้น

รูป : เมนบอร์ด Pentium
หมายเหตุ
สำหรับซีพียูของ AMD K6-III จะต้องใช้กับเมนบอร์ดแบบซูเปอร์ 7 หรือแมนบอร์ดที่ใช้ Socket 7 ในการติดตั้งซีพียู แต่สนับสนุนระบบบัส (FSB) ที่ 100 MHz หรือสูงกว่า สนับสนุนบัส สล็อตแบบ AGP และใช้กับหน่วยความจำแบบ SDRAM Bus 100 ได้
รูป : เมนบอร์ด Pentium
ลักษณะทั่วไป
1. ซีพียูซ็อกเก็ต 7 (Socket 7) สำหรับติดตั้ง ซีพียูโดยยกก้านล็อคซีพียูให้ตั้งฉากกับเมนบอร์ด ก็สามารถถอดเปลี่ยนซีพียูได้อย่างง่ายดาย
2. ซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งแรม บางบอร์ดจะมีให้เลือกว่าจะติดตั้งแรมแบบ 72 Pin (อาจเป็น EDO หรือ SIMM แรม) หรือแรมแบบ 168 Pin (SDRAM) ซึ่งเป็นแรมใหม่ที่มีความเร็วมากกว่าแบบ EDO และ SIMM
3. สล็อต สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้บางบอร์ด (รุ่นปลาย ๆ ) นอกจากสล็อตแบบ ISO Slot และ PCL Slot แล้วก็อาจจะมีสล็อต AGP Slot ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าสล็อตแบบ ISA และ PCI
4. ตำแหน่งสำหรับต่อไฟจากพาวเวอร์ซับพลาย อาจจะมีทั้งสองแบบ คือ แบบ AT และ ATX
5. รูสำหรับติดน็อตและหมุนพลาสติกยึดเมนบอร์ด
6. ตำแหน่งสำหรับต่อสายลำโพง (Speaker) สายไฟปุ่มรีเซ็ต (Reset) สายไฟแสดงการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์ (Hdd Led) แต่สายเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องต่อเลยก็ได้ อาจต่อแค่สาย Speaker และ Reset ก็ เพียงพอแล้ว
7. คอนโทรลเลอร์ควบคุมการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดร์ฟ และฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ฟจะ ถูกออกแบบให้มีความสามารถมากขึ้น เช่น รองรับอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 33 Mb/ วินาที หรือ Ultra DMA 33

8. ตำแหน่งสำหรับต่อสายพอร์ตเครื่องพิมพ์ เมาส์ หรือ Com1 Com2 ส่วนเมนบอร์แบบATX
ตัวพอร์ตเครื่องพิมพ์ เมาส์ Com1 Com2 จะถูกเชื่อมติดต่อเข้ากับเมนบอร์ด ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องต่อสายอะไรให้วุ่นวาย
เมนบอร์ดแบบ Socket 370
เมนบอร์ด Socket 370 ถูกออกแบบมาสำหรับซีพียูอินเทล Celeron แบบ PPGA ลักษณะจะคล้ายแบบ Socket 7 มาก แตกต่างกันที่มุมตัด Socket 370 จะมีมุมตัด 2 มุม ส่วน Socket 7 จะมีมุมเดียว สำหรับส่วนประกอบอื่น ๆ ก็ไม่แตกต่างกันมาก ที่มีมาหลัก ๆ เช่น ระบบความเร็วของบัสเป็น 100MHz
หรือสูงกว่าสล็อต(Slot)
รูป : เมนบอร์ดรุ่น Socket 370

เมนบอร์ดแบบ Slot I

เป็นเมนบอร์ดที่มีความหลากหลายมากบอร์ดหนึ่ง สำหรับซีพียูอินเทล Pentium II/III และ Celeron บางรุ่นมีการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ ๆ เข้ามาเช่น Ultra ATA -66 หรือความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้เร็วถึง 66 MB/วินาที รองรับระบบบัสถึง 133 MHz บอร์ดบางรุ่นจะมีทั้งการ์ดจอ การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค การ์ดโมเด็มในตัว (On board)


รูป : เมนบอร์ดรุ่น Slot 1
ลักษณะทั่วไป
1. CPU Speed Setup เป็น DIP Switch สำหรับกำหนดความเร็วทำงานภายนอกของซีพียู
2. Frequency Ratio เป็น DIP Switch สำหรับกำหนดตัวคูณหนือ อัตราความถี่ของซีพียู
3. ตำแหน่งสำหรับต่อสายลำโพง (Speaker) สาย (Reset) สายไฟแสดงการทำงานของ ฮาร์ดดิสก์ (HDD Led) แต่สายเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องต่อเลยก็ได้ อาจต่อแค่สาย Speaker และ Reset ก็เพียงพอแล้ว
4. Power Connector ตำแหน่งสำหรับต่อสายไฟพาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งเป็นแบบ ATX
5. PS2 Mouse/KeyBoard Connector ตำแหน่งไว้สำหรับต่อเมาส์และคีย์บอร์ดแบบ PS/2 จะอยู่ติดกัน
6. USB Port (Universal SerialBus)ตำแหน่งหรือพอร์ตแบบUSBซึ่งเป็นพอร์ตแบบใหม่ที่มี ความเร็วสูง และสามารถต่อพ่วงอุปกรณ์เข้าด้วยกันได้ถึง 127 ชิ้น
7. LPT/Com1/Com2 ตำแหน่งหรือพอร์ตสำหรับเครื่องพิมพ์ Com1 Com2 สำหรับเมาส์แบบ Serial และโมเด็ม
8. Slot I (สล็อตวัน) สำหรับติดตั้งซีพียู
9. CPU Cooling Fan Power Connector ตำแหน่งไว้สำหรับต่อพัดลมซีพียู นอกจากพัดลม สำหรับซีพียูแล้ว ยังมีอีก 2 ส่วน คือส่วน Power Fan Power Connector และ System Fan Power Connector ซึ่งไม่จำเป็นต้องต่อพัดลมก็ได้พัดลมสำหรับซีพียูตัวเดียวก็พอแล้ว 10.Primary/SecondaryIDEPortตำแหน่งสำหรับต่อสายPrimaryIDEและSeccondaryIDE เพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมไดร์ฟ
11. Floppy Port ตำแหน่งสำหรับต่อสายข้อมูลกับฟล็อปปี้ดิสก์
12. Battery เป็นแบตเตอรี่สำหรับจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด เพื่อให้นาฬิกาในเครื่องทำงาน
เมนบอร์ดแบบอื่น ๆ

สำหรับเมนบอร์ดแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ก็มีเมนบอร์ดแบบ Slot A สำหรับซีพียู ของ AMD คือ K7 หรือ Athlon เป็นซีพียูที่มีความเร็วสูง มีให้เลือกหลายรุ่นเช่น 500, 550, 600 , 650 , 700 MHz เป็นต้นบางรุ่นผลจากการทดสอบการทำงานมีการทำงานได้เร็วกว่าซีพียูของอินเทลอีกถือ ได้ว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ชอบเล่นเกมส์ และโปรแกรมกราฟิก สำหรับส่วนประกอบ ของเมนบอร์ดแบบนี้ ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จะแตกต่างกันเฉพาะงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง เช่น เมนบอร์ดซ็อกเก็ต 8 สำหรับซีพียูของอินเทล คือ Pentium Pro
รูป : เมนบอร์ด Slot II สำหรับซีพียูของอิลเทล คือ Pentium II/III Xeon
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเพื่อเก็บข้อมูลไฟล์
หรือโปรแกรมต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีมากมายหลายยี่ห้อ มีความเร็วและความจุแตกต่างกัน ใน การเลือกซื้อควรเลือกที่มีความจุ 4 GBขึ้นไปเพราะโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก ความเร็ว ของฮาร์ดดิสก์จะวัดกันที่เสี้ยวเวลาที่ฮาร์ดดิสก์ค้นหาข้อมูลหรือ Average Access Time ความเร็วของ ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 10 Ms ถึง 19 Ms ตัวเลขยิ่งน้อยก็ยิ่งมีความเร็วที่มากขึ้น ฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายในหรือติดตั้งอยู่กับเครื่อง อาจเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า Fixed Disk ไม เหมาะจะถอดเข้าถอดออกหรือเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ จะเสียหายง่าย หากต้องโอนย้ายข้อมูลจำนวนมาก เช่น นำข้อมูลจากที่บ้านไปที่ทำงาน ควรเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบพกพาจะดีกว่า เช่น Disk to Go
ประเภทของฮาร์ดดิสก์
IDE จะเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ 386 - 486 ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ค่อนข้างช้า แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาอยู่ในระดับที่ใช้งานได้ดี E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ได้มีการการพัฒนาด้านความเร็วในการค้นหาข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม ความจุก็มากกว่า เริ่มใช้ในเครื่องระดับ 486 รุ่นปลาย ๆ เช่น 486DX4 และรุ่นเพนเทียม สามารถเชื่อม ต่อฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 4 ตัวในเครื่องเดียว ปัจจุบันความเร็วของฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้จะอยู่ที่ประมาณ 33MB/วินาที หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง Ultra DMA-33 แต่ก็มีเมนบอร์ดบางรุ่นที่สามารถรองรับความเร็ว ของฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ที่มีความเร็วถึง 66MB/วินาที หรือ Ultra DMA-66 SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูง ทนทานและราคาแพง ปกติใช้สำหรับเครื่องแม่ข่ายหรือ Sevver ที่ทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืนเป็นเดือน ๆ โดยไม่มีการปิดเครื่อง สามารถเชื่อมต่อกันได้ถึง 7 ตัว
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
1. ตำแหน่งต่อสายเคเบิ้ลจะมี 40 ขาหรือ 40 Pin สำหรับต่อสายรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ด กับตัวฮาร์ดดิสก์ให้พิจารณาว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด ส่วนมากจะต่อฮาร์ดดิสก์กับสาย IDE 0 หรือ Primary IDE
2. ตำแหน่งต่อไฟเข้าฮาร์ดดิสก์
3. ตำแหน่งเซ็ตจัมเปอร์ซึ่งจะมี 2 แบบหลัก ๆ คือ Master สำหรับกำหนดให้ฮาร์ดดิสก์ตัวนั้นๆ เป็นตัวหลักใช้สำหรับติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เช่น Windows 95/98/Me ฯลฯ และ Slave สำหรับกำหนด ให้ฮาร์ดดิสก์ตัวนั้น ๆ เป็นฮาร์ดดิสก์ตัวสำรองเก็บข้อมูลอย่างเดียว
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ (Floppy Disk Drive)
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์เก็ต มีให้เลือก 2 ขนาด คือ ขนาด 3.5" นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน และ 5.25" ไม่ค่อยนิยมใช้เพราะว่าเคสในปัจจุบันที่ผลิตขึ้นไม่ค่อยมี ไดร์ฟที่รองรับแบบ 5.25"
ประเภทของฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ
3.5" สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ขนาด 3.5"
5.25" สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ขนาด 5.25" External FDD สำหรับอ่าน และบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ประเภทติดตั้งภายนอก เพื่อความสะดวกในการพกพา ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทโน๊ตบุ๊ค
ส่วนประกอบของฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5" มีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. ช่องใส่แผ่น ดิสก์และปุ่มกดเพื่อดันแผ่นดิสก์ออก
2. ตำแหน่งสำหรับต่อสายแพรส่งข้อมูล ให้ตรวจดูว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด    
3. ตำแหน่งสำหรับต่อสายไฟ ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ
แผ่นซีดีรอม (CD-R, CD-RW)
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อสำหรับบันทึกข้อมูลประเภทหนึ่งซึ่งแรกๆ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบันทึกข้อมูล ประเภทสื่อผสมที่มีทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความ ฯลฯ เพราะหากบันทึกลงฮาร์ดดิสก์จะสิ้น เปลืองพื้นที่ไปมาก ครั้งจะบันทึกลงแผ่นดิสก์เก็ตก็เปลืองแผ่น เพราะต้องใช้แผ่นเป็นจำนวนมากแผ่น ซีดีอาร์ 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้เท่ากับฟล็อปปี้ดิสก์ประมาณ 450 แผ่นในซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถ บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 650 Mb ปัจจุบันนิยมใช้บันทึกไดรเวอร์หรือโปรแกรมต่าง ๆ โดยเฉพาะ โปรแกรมก๊อปปี้ทั้งหลาย และโปรแกรมประเภท CAI หรือโปรแกรมช่วยสอน เช่น CAI สอนวิธีใช้ โปรแกรม Word , Excel , PowerPoint ฯลฯ ประเภทของแผ่นซีดีรอม
สำหรับประเภทของแผ่นซีดีรอม จะขอแบ่งอย่างไม่เป็นทางการ หรือแบ่งตามชื่อเรียกในท้อง ตลาดดังนี้
แผ่นทอง เป็นศัพท์ที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการสำหรับแผ่นซีดีรอมที่มีลักษณะสีขาวมีการ สกรีนผิวหน้าซีดี ลองนึกถึงแผ่นซีดีเพลง ลักษณะจะคล้าย ๆ กันเพียงแต่บันทึกไฟล์ หรือบันทึกโปรแกรมลงไปแทนเพลงต่าง ๆ
แผ่นขาว เป็นศัพท์เรียกแผ่นซีดีรอมที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล คล้าย ๆ เทปเปล่า แผ่นประเภท นี้จะมีความจุประมาณ 650 MB
CD เป็นแผ่นคอมแพคดิสก์ที่บันทึกเพลงต่าง ๆ คุณภาพเสียงจะดีกว่าเทปมาก
CD-R หรือแผ่นคอมแพคดิสก์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แผ่นทอง
CD-RW เป็นแผ่นคอมแพคดิกส์ที่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้ คล้าย ๆ กับแผ่นดิสก์เก็ตแต่มี ความจุมากกว่า ส่วนเรื่องราคาแพงมากกว่าเช่นกัน และคุณภาพก็ต้องมีเครื่องอ่านแผ่นซีดีรอมที่ สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ หรือ CD-RW Drive จึงจะสามารถใช้แผ่นประเภทนี้ได้
การ์ดขยายอื่น ๆ
เช่น การ์ดเน็ตเวิร์คสำหรับการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์การ์ทีวี เพื่อดูทีวีทางจอ คอมพิวเตอร์ การ์ดควบคุมการทำงานของฮาร์ดดิสก์ SCSI (อ่านว่า สกั๊ซซี่) เครื่องสแกนเนอร์บางรุ่น ต้องการการ์ดควบคุมแยกต่างหาก โดยจะติดตั้งการ์ดไว้ด้านหน้าในตัวเครื่องด้วย
พรินเตอร์ (Printer)
สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการออกมาบนกระดาษ หรือแผ่นใส หรือวัสดุชนิดอื่น ๆ และแต่ เครื่องพิมพ์ชนิดนั้น ๆ อาจแบ่งประเภทของเครื่องพิมพ์เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เรื่องพิมพ์แบบดอตเมทริกช์ (Do Matrix) มี 2 แบบ คือ แบบ 9 เข็มและแบบ 24 เข็มจะใช้ หลักการคล้าย ๆ กับเครื่องพิมพ์ดีด วิธีพิมพ์ใช้หัวเข็มกระแทกลงบนผ้าหมึก และใต้ผ้าหมึกจะเป็นกระดาษเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดังนิยมนำไปใช้ในงานพิมพ์แบบฟอร์ม ที่ต้องใช้กระดาษต่อเนื่อง
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser) ราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะแบบที่พิมพ์สีได้ (ประมาณครึ่ง แสน) แต่ให้คุณภาพงานที่ดี เหมาะสำหรับงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ การทำอาร์ทเวิร์ค หรืองานที่ต้อง การความคมชัด หลักการทำงานจะคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้หลักการยิงแสงเลเซอร์ไป สร้างภาพบนกระดาษ ทำให้กระดาษร้อน แล้วจึงปล่อยผงหมึกไปยังที่ได้สร้างภาพไว้เมื่อพิมพ์เสร็จ ใหม่ ๆกระดาษจะร้อนและงอ
เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท (Inkjet) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ค่อนข้างราคาถูกกว่า เครื่องพิมพ์แบบ Laser ความสามารถเหมือนกัน ต่างกันที่ความละเอียดของงานและรูปแบบการพิมพ์จะช้ากว่า Laser เพราะว่าการพิมพ์จะใช้แสงเป็นตัววัดความละเอียดของการพ่นหมึก
ยูพีเอส UPS
ทำหน้าที่กรองไฟให้สม่ำเสมอและสำรองไฟชั่วคราวให้กับคอมพิวเตอร์ในกรณีที่ไฟดับ นอก จากจะช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหาย ก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์บางตัวเสียหายเนื่องจากกระแส ไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอและไฟกระชากกรณีเกิดไฟดับ และถ้าต้องทำงานที่สำคัญมาก ๆ เช่น ระบบงาน ของธนาคารหรือบริษัทใหญ่ ๆ จะต้องมีตัวยูพีเอส
อุปกรณ์อื่น ๆ นอกจากอุปกรณ์ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ก็ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมาก มาย ชึ่งอุปกรณ์บางตัว นั้นใช้กันในวงแคบ อาจจะไม่ค่อยได้เห็นกันเท่าไรนัก เช่น ลำโพง ปลั๊กไฟ ซิบไดร์ฟ กล้องวิดีโอ กล้องถ่ายภาพดิจิตอล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น