วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์


การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งในการใช้งานคอมพิวเตอร์ บางจุดในการประกอบอุปกรณ์ไม่สามารถเอาแน่นอนได้ เนื่องจากตัวอุปกรณ์และชิ้นส่วนของสินค้า แต่ละรุ่นที่ผลิตออกมา ดีไซน์การใช้งานมาต่างกันและพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ วิธีนี้การบางขั้นตอนอาจจะ ใช้ไม่ได้กับคอมพิวเตอร์บางรุ่น
ลำดับขั้นตอนในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
1. ประกอบซีพียูและแรมลงบนเมนบอร์ด
2. ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเครื่อง
3. ต่อสายสัญญาณต่างๆ ภายในเครื่อง
4. ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ และไดร์ฟ ซีดีรอม
5. ติดตั้งการ์ดต่าง ๆ
6. ปิดเคส
7. ต่ออุปกรณ์ภายนอก
8 . ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
- ไขควงปากแบน หรือไขควงแฉก
- ตัวคีบสกรู ใช้คีบน็อตใส่ในช่องเกลียว สำหรับขันน็อตในที่แคบที่ไม่สามารถใช้มือจับได้
- ตัวถอดชิพ ใช้ถอดชิพใน CPU ที่เป็นเครื่องรุ่นเก่า ๆ
- หลอดเก็บสกรูและจัมเปอร์ ใช้สำหรับเก็บสกรูและจัมเปอร์ที่เหลือจากการประกอบเครื่อง
ใว้ใช้ในยามที่จำเป็น
- ปากคีบ สำหรับคีบจับสกรูหรือจับอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ
- บล็อคหกเหลี่ยมขนาดเล็ก ใช้สำหรับขันน็อตหกเหลี่ยมตัวเมียกับแผงเหล็กของเคส
- หัวมะเฟือง สำหรับขันน็อตพิเศษแบบหกเหลี่ยมสำหรับอุปกรณ์บางประเภทที่ผู้ผลิต
อุปกรณ์ไม่ต้องการให้มืออาชีพมาแกะซ่อมเอง
1. การประกอบ CPU และ RAM ลงเมนบอร์ด
การติดตั้ง CPU
1. เปิดคู่มือของเมนบอร์ด หาตำแหน่งของ Socket สำหรับติดตั้ง CPU
2. เมื่อพบตำแหน่งแล้วยกก้าน Socket ออ
3. วาง CPU บน Socket สังเกตว่าหากตำแหน่งขาตรง จะสามารถวาง CPU ลงบนตำแหน่ง Socket โดยไม่เอียง และไม่ต้องออกแรงกดเลย
4. กดก้านล็อค CPU ลงเพื่อยึด CPU ให้แน่นอยู่กับที่
5. นำฮีทซิงค์ติดตั้งบนตัว CPU
6. วางขายึดฮีทซิงค์ลงบนเมนบอร์ด กดลงไปตรง ๆ จนขายึดล็อคเข้ากับกรอบ
7. โยกคันล็อคฮีทซิงค์ด้านบน 2 อันในทิศทางตรงกันข้ามจนสุด
8.เสียบสายพัดลมระบายความร้อนโดยหาตำแหน่งSocketบนเมนบอร์ดให้เมนบอร์ดจ่ายไฟให้พัดลมทำงาน
หมายเหตุ
ฮีทซิงค์ เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในชุดระบายความร้อน มีพัดลมระบายความร้อน (CPU-Fan) อยู่ชุดระบายความร้อนนี้มากับ CPU ที่คุณซื้อ (ตรวจดูว่าฮีทซิงค์ด้านที่ติดกับ CPU มีแถบกาวสารช่วย ระบายความร้อนติดอยู่หรือไม่ถ้ามีให้ลอกเฉพาะแผ่นป้องกันแถบกาวออกให้ใช้ความระมัดระวัง วาง ฮีทซิงค์ที่มีพัดลมติดให้ตรงตำแหน่งชิพของ CPU หากไม่มีแถบกาวให้ใช้ซิลิโคนสำหรับทาฮีทซิงค์ที่ มีลักษณะเป็นครีมขาว แต้มลงบน CPU เพื่อให้การระบายความร้อนเป็นไปอย่างดี

การติดตั้ง RAM และสายเคเบิ้ล บนเมนบอร์ด
1. ติดตั้ง RAM โดยเปิดคู่มือ ของเมนบอร์ด เพื่อดูตำแหน่งของ RAM
2. ติดตั้ง RAM ลงบนช่องสำหรับเสียบ RAM โดยง้างขาล็อค RAM บน Slot ออก แล้ววาง RAM เทียบกับ Slot ให้ตำแหน่งร่อง RAM ลงพอดีตรงกลางแกน DIMM
3.กดRAMลงไปโดยกดที่ขอบบนด้านซ้ายและขวาพร้อมกันจนขาล็อคทั้งสองฝั่งเกาะยึดเข้ากับรอย บากด้านข้างของ RAM จนสุด
ั4. ติดตั้งสายเคเบิ้ลหรือสายที่เป็นตัวนำข้อมูลจาก Drive และSocketต่างๆไปสู่หน่วยความจำและ CPU

4.1 หา Socket IDE และ Floppy Drive ที่อยู่บนเมนบอร์ด ดังภาพ
4.2 ติดตั้งสายเคเบิ้ล IDE สำหรับ Hard disk โดยเสียบต่อสายเคเบิ้ลเข้ากับ Socket IDE1 โดยให้แถบพลาสติกตรงกับร่างของ Socket IDE1
4.3 กดที่ปลายทั้งสองด้านของขั้วต่อสายลงไปตรง ๆ จนสุด
4.4 ติดตั้งสายเคเบิ้ล IDE สำหรับ Optical Drive(CD-ROM, CD-Writer, DVD-ROM ,DVD- Writer)โดยเสียบต่อสายเคเบิ้ลเข้ากับsocketIDE2(ดังภาพแสดงตำแหน่งของPortที่สำหรับเสียบสายเคเบิ้ล)โดยให้แถบพลาสติก นูนตรงกับร่องของ socket IDE 2
4.5 กดที่ปลายทั้งสองข้างของขั้วต่อสายลงไปตรง ๆ จนสุด
4.6 การติดตั้งสายเคเบิ้ล FDD สำหรับ FloppyDrive ต้องมีการต่อสายเคเบิ้ลอีก 1 สายต่างหาก
4.7 กดที่ปลายทั้งสองด้านของขั้วต่อสายลงไปตรง ๆ จนสุด
หมายเหตุ
สำหรับ Hard Disk ที่มีอินเตอร์เฟสตั้งแต่ ATA66 ขึ้นไป จะเป็นสายแพ ชนิด high density 80 conductors หากใช้สายแพชนิด 40 conductors จะทำให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Hard Disk กับ Main board ลดลงต้องใช้สายแพให้ถูกต้องตาม Hard Disk ที่ใช้เสมอ Hard Disk รุ่นใหม่ที่ มีอินเตอร์เฟสเป็นชนิด Serial ATA ใช้สายเชื่อมต่อที่มีขนาดเล็กลง และมีความเร็วมากขึ้น และการ ติดตั้งก็ง่ายขึ้นด้วย (ดังภาพแสดงตำแหน่งของ Port สำหรับเสียบสายเคเบิ้ล)
2. การติดตั้ง เมนบอร์ด เข้ากับ เคส
1.วางเคสลงบนพื้นโต๊ะยึดน็อตหกเหลี่ยมที่ให้มากับเคสในตำแหน่งรูบนเคสที่ตรงกับตำแหน่งรูบน เมนบอร์ด เพื่อเป็นฐานรอง
3. วางแผง เมนบอร์ด ให้ตรงกับรูบนฐานวงแหวนรองน็อตสีส้มในจุดต่างๆ ที่จะไขน็อต
4. ขันน็อตยึด เมนบอร์ด กับเคสให้แน่น
5. แสดงรูปภาพหลังจากประกอบเมนบอร์ดกับเคสแล้ว
3. การติดตั้งสายไฟ และสายสัญญาณ
1.เปิดคู่มือของเมนบอร์ดเพื่อหาตำแหน่งติดตั้งสายไฟและสายสัญญาณสายไฟคือสายไฟเลี้ยงที่มาจาก Power Supplyที่แปลงไฟฟ้า สายไฟมีดังต่อไปนี้
a. สายไฟสำหรับเมนบอร์ด
b. สายไฟสำหรับ CPU
c. สายไฟสำหรับ Hard disk Drive และ Optical Drive
d. สายไฟสำหรับ Floppy Disk Drive
2. ติดตั้งสายไฟสำหรับเมนบอร์ด ตรง ATX Power Connector (CNI)
3. ติดตั้งสายไฟสำหรับ CPU
สายสัญญาณ คือ
- ATX Power Switch เป็น Switch ที่ใช้กดเพื่อให้เครื่อง ทำงาน ส่วนการปิดเครื่องทำได้โดยการกด Switch ค้าง ไว้ประมาณ 4 วินาที
- Reset SW เชื่อมต่อกับ Switch ที่ใช้ Restart เครื่อง
- Power LED ต่อเชื่อมกับหลอด ไฟ LED ที่อยู่หน้าเคส
เพื่อให้ทราบว่าเครื่องถูกใช้งานอยู่
- Speaker เชื่อมต่อลำโพงที่อยู่ในเคส เพื่อส่งเสียงบอก
สถานะ และเตือน เมื่อเครื่องทำงานผิดพลาด
- HDD LED ต่อเชื่อมกับสัญญาณไฟที่แสดงให้ทราบว่า
Hard disk กำลังรับ/ส่งข้อมูลอยู่
4. ติดตั้งโดยจับขั้วสายสัญญาณ เสียบเข้ากับช่อง Socket ทั้งหมด

4. การติดตั้ง Drives เข้ากับ Case
4.1. การติดตั้ง Floppy Disk
1. สอด Floppy drive ในช่องที่จัดไว้ 2. ทดสอบลองใส่แผ่น และกดเอาแผ่นออก
3 . ใช้ไขควงขันน็อตยึดเข้าให้แน่นเพื่อไม่ให้ 4 . ใช้ไขควงขันน็อตยึดเข้าอีกกับอีกด้านหนึ่ง
Drive เคลื่อนที่
4.2. การติดตั้ง Optical Drive (CD-ROM, CD-Writer, DVD-ROM, DVD Writer)
ก่อนที่จะติดตั้ง Drive เข้ากับเคสควรจะกำหนดค่า Jumper ก่อนว่า จะให้ Drive นั้น เป็น Master หรือ Slave ตำแหน่งของ Jumper ที่กำหนดเป็น MA คือกำหนดให้ Drive นั้นเป็น Master, SL คือ กำหนดให้ Drive นั้นเป็น Slave
1 . ติดตั้ง Drive เข้ากับเคส
2. ใช้มือปรับให้หน้าปัดของไดร์ฟที่ยื่นออกมาให้พอดี
3. ใช้ไขควงขันน็อตยึดตัวไดร์ฟให้เข้ากับเคส เพื่อป้องกันไม้ให้ไดร์ฟเคลื่อนเมื่อมีการใส่แผ่นดิสก์
4 .ใช้ไขควงขันน็อตเพื่อยึดอีกด้านหนึ่งเข้ากับเคส
4.3 การติดตั้ง Hard Disk Drive
ก่อนที่จะติดตั้งนั้นจำเป็นต้องกำหนดค่า Jumper โดยต้องกำหนดค่าให้เป็น Master เพราะเรา
จะติดตั้ง Hard Disk เข้ากับสายเคเบิ้ล IDE1 เพื่อเป็นตัวบูท Boot ระบบปฏิบัติการ Windows กำหนดค่า Jumper ให้เป็น Master โดยดูจากตาราง
1 . ใส่ Hard Disk ในช่องที่มีขนาดพอดี
เล็งตำแหน่งที่จะยึดน็อตให้ตรงกัน
2. หลังจากใส่HardDiskเข้าไปแล้วใช้ไขควงหมุนน็อตยึดให้แน่นกับตัวเคสเพื่อป้องกันไม่ให้หลุดออกมา
3. ใช้ไขควงยึดน็อตอีกด้านหนึ่งของ Hard Disk ให้เข้ากับเคส

4.4 การติดตั้งสายเคเบิ้ล (IDE2 ) สายไฟ และสายสัญญาณเสียง (Audio out) สำหรับ Optical Drive
1 . ดูตำแหน่งของขั้วต่อสายสัญญาณเสียงด้านหลัง Optical Drive (Audio) แล้วเสียบสายสัญญาณเสียง (Audio Out) เข้าที่ขั้วต่อ Audio ด้านหลัง Optical Drive
2. ตรวจตำแหน่งที่จะต้องต่อสายเคเบิ้ลด้านหลัง Optical Drive (IDE Interface) แล้วเสียบสายเคเบิ้ล (IDE2) ที่ต่อปลายด้านหนึ่งไว้กับเมนบอร์ด แล้วให้ตรงกับ Connector IDE interface ด้านหลัง Optical Drive โดยหันสายหน้าที่เป็นสีแดง ไปยังขาที่1 ของ Connector
4.5 การติดตั้งสายเคเบิ้ลและสายไฟ สำหรับ Floppy Disk Drive
1. เสียบสายไฟจาก power supply เข้าที่ขั้วต่อไฟด้านหลัง Floppy Disk Drive ให้กระชับ
2. เสียบสายเคเบิ้ล FDD ที่ต่อด้านหนึ่งไว้กับเมนบอร์ด แล้วเข้ากับคอนเนคเตอร์ด้านหลัง Floppy Disk Drive ให้กระชับโดยหันสายด้านที่เป็นสีแดงไปยังขาที่ 1 ของคอนเนคเตอร์
4.6 การติดตั้งสายเคเบิ้ล (IDE1) สายเคเบิ้ล (SATA) และสายไฟสำหรับ Hard Disk Drive ทั้งสองประเภท
1 . เสียบสายเคเบิ้ล IDE1 หรือสายเคเบิ้ล SATA ที่ต่อปลายด้านหนึ่งไว้กับเมนบอร์ด แล้วเข้ากับ คอนเนคเตอร์ด้านหลัง Hard Disk Drive แต่ละแบบให้สลับบนขั้วเสียบของสายเคเบิ้ลตรงกับ ร่องของคอนเนคเตอร์ทั้งสองแบบแล้วกดให้กระชับ
2 . เสียบสายไฟจาก Power Supply เข้าที่ขั้วต่อไฟด้านหลัง Hard Disk Drive แต่ละแบบให้กระชับ
3 . หลังจากติดตั้งเรียบร้อย
5. การติดตั้ง Card แสดงผล และ Card เสียง
- การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดเร่งความเร็วในการแสดงผลจะติดตั้งบน Slot ชนิด AGP
- การ์ดเสียงจะติดตั้งอยู่บน Slot PCI
หมายเหตุ หากเมนบอร์ด ที่ใช้มี VGA หรือ Sound Card on Board ต้องทำการ Disable ใน Bios ก่อนใช้ งานการ์ดที่ติดตั้งเพิ่ม
เริ่มด้วยการถอดฝาปิดด้านหลังตรง ตำแหน่งการ์ดนั้น ๆ ออกก่อนเพื่อ ให้คอนเนคเตอร์ของการ์ดยื่นออก มานอกเคสได้ดังรูป
1.1หยิบการ์ดจอมาเสียบบนslotAGPโดยให้การ์ดอยู่ตรงกับร่องบนslotแล้วใช้หัวแม่มือทั้งสองข้างกดลงบนหัวท้ายของสันด้านบนของการ์ด ด้วยแรงเท่า ๆ กัน
1.2 กดแผงการ์ดจอลงไปตรง ๆ ให้เข้าไปในslot จนสุด
1.3 ใช้ไขควงขันน็อตยึดแผ่นเหล็กของการ์ดเข้ากับเคส
2. การติดตั้ง การ์ดเสียง
2.1 ต่อสายสัญญาณเสียงที่มากับ Optical Drive เข้ากับการ์ดเสียง
2.2 หยิบการ์ดเสียงมาวางตรง slot PCI โดยให้การ์ดอยู่ตรงกับร่องบน slot ให้หัวแม่มือ ทั้งสองข้างกดลงบนหัวท้ายของสันด้าน บนของการ์ดด้วยแรงเท่า ๆ กัน
2.3 กดแผงการ์ดเสียงลงไปตรง ๆ ให้เข้าไปในslot จนสุด
2.4 ใช้ไขควงขันน็อตยึดแผ่นเหล็กของการ์ดเข้ากับเคส
6. ปิดฝา Case
หลังจากที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องสำรวจไม่ให้มีตัวนำไฟฟ้า เช่น น็อตตกหล่นอยู่ในเคส จากนั้นให้เก็บสายเคเบิ้ลต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบแล้วจึงทำการปิดฝาเคส
1. นำฝาเคสมาวัดเข้ากับตัวเคสโดยเล็งให้ตัวล็อคที่ฝาตรงักบเคส
2. ใช้มือเลื่อนฝาเคสให้เข้าไปจนสุดของตัวล็อค
3. ใช้ไขควงขันน็อตเพื่อปิดฝาเคสเป็นขั้นสุดท้าย
7. ต่ออุปกรณ์ภายนอก
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วควรทดลองต่อสายภายนอกแล้วเปิดเครื่องดูก่อนเพื่อตรวจสภาพการใช้
งานข้อคิดการตรวจสอบก่อนเปิดเครื่อง
1. ตรวจสอบการติดตั้ง CPU ชุดระบายความร้อน และ RAM ว่าแน่นหรือเข้าล็อคหรือยังอย่า
ให้เอียงหรือไม่แนบสนิท
2. ตรวจสอบเมนบอร์ดว่ามีส่วนใดที่ติดกับตัวเครื่องหรือเปล่าเพราะอาจเป็นสื่อที่จะทำให้เกิด การลัดวงจรได้
3. ตรวจสอบไฟที่จ่ายเข้ากับอุปกรณ์ว่าครบหมดหรือยัง
4. ตรวจสอบสายสัญญาณทั้งหมดและสายแพที่ต่อกับอุปกรณ์ อย่าสลับเหลี่ยมกันเพราะจะทำ ให้เกิดการลัดวงจรได้
5. ตรวจสอบว่าการ์ดที่ต่อแน่นหรือยัง เสียบถูกช่องหรือเปล่า สายสัญญาณอื่นที่ต่อกับการ์ด เมื่อตรวจสอบความเรียบร้อยเสร็จแล้วเราสามารถลงมือเปิดเครื่องได้
8. ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
ในการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมต้องดูก่อนว่าที่ใช้งานจำเป็นหรือไม่ ถ้าติดตั้งอุปกรณ์มากเกินไป จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทำงานหนักเพิ่มมากขึ้น เครื่องจะทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร
4.4 การติดตั้งสายเคเบิ้ล (IDE2 ) สายไฟ และสายสัญญาณเสียง (Audio out) สำหรับ Optical Drive
1 . ดูตำแหน่งของขั้วต่อสายสัญญาณเสียงด้านหลัง Optical Drive (Audio) แล้วเสียบสายสัญญาณเสียง (Audio Out) เข้าที่ขั้วต่อ Audio ด้านหลัง Optical Drive
2. ตรวจตำแหน่งที่จะต้องต่อสายเคเบิ้ลด้านหลัง Optical Drive (IDE Interface) แล้วเสียบสายเคเบิ้ล (IDE2) ที่ต่อปลายด้านหนึ่งไว้กับเมนบอร์ด แล้วให้ตรงกับ Connector IDE interface ด้านหลัง Optical Drive โดยหันสายหน้าที่เป็นสีแดง ไปยังขาที่1 ของ Connector
4.5 การติดตั้งสายเคเบิ้ลและสายไฟ สำหรับ Floppy Disk Drive
1. เสียบสายไฟจาก power supply เข้าที่ขั้วต่อไฟด้านหลัง Floppy Disk Drive ให้กระชับ
2. เสียบสายเคเบิ้ล FDD ที่ต่อด้านหนึ่งไว้กับเมนบอร์ด แล้วเข้ากับคอนเนคเตอร์ด้านหลัง Floppy Disk Drive ให้กระชับโดยหันสายด้านที่เป็นสีแดงไปยังขาที่ 1 ของคอนเนคเตอร์
4.6 การติดตั้งสายเคเบิ้ล (IDE1) สายเคเบิ้ล (SATA) และสายไฟสำหรับ Hard Disk Drive ทั้งสองประเภท
1 . เสียบสายเคเบิ้ล IDE1 หรือสายเคเบิ้ล SATA ที่ต่อปลายด้านหนึ่งไว้กับเมนบอร์ด แล้วเข้ากับ คอนเนคเตอร์ด้านหลัง Hard Disk Drive แต่ละแบบให้สลับบนขั้วเสียบของสายเคเบิ้ลตรงกับ ร่องของคอนเนคเตอร์ทั้งสองแบบแล้วกดให้กระชับ
2 . เสียบสายไฟจาก Power Supply เข้าที่ขั้วต่อไฟด้านหลัง Hard Disk Drive แต่ละแบบให้กระชับ
3 . หลังจากติดตั้งเรียบร้อย
5. การติดตั้ง Card แสดงผล และ Card เสียง
- การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดเร่งความเร็วในการแสดงผลจะติดตั้งบน Slot ชนิด AGP
- การ์ดเสียงจะติดตั้งอยู่บน Slot PCI
หมายเหตุ หากเมนบอร์ด ที่ใช้มี VGA หรือ Sound Card on Board ต้องทำการ Disable ใน Bios ก่อนใช้ งานการ์ดที่ติดตั้งเพิ่ม
เริ่มด้วยการถอดฝาปิดด้านหลังตรง ตำแหน่งการ์ดนั้น ๆ ออกก่อนเพื่อ ให้คอนเนคเตอร์ของการ์ดยื่นออก มานอกเคสได้ดังรูป
1.1หยิบการ์ดจอมาเสียบบนslotAGPโดยให้การ์ดอยู่ตรงกับร่องบนslotแล้วใช้หัวแม่มือทั้งสองข้างกดลงบนหัวท้ายของสันด้านบนของการ์ด ด้วยแรงเท่า ๆ กัน
1.2 กดแผงการ์ดจอลงไปตรง ๆ ให้เข้าไปในslot จนสุด
1.3 ใช้ไขควงขันน็อตยึดแผ่นเหล็กของการ์ดเข้ากับเคส
2. การติดตั้ง การ์ดเสียง
2.1 ต่อสายสัญญาณเสียงที่มากับ Optical Drive เข้ากับการ์ดเสียง
2.2 หยิบการ์ดเสียงมาวางตรง slot PCI โดยให้การ์ดอยู่ตรงกับร่องบน slot ให้หัวแม่มือ ทั้งสองข้างกดลงบนหัวท้ายของสันด้าน บนของการ์ดด้วยแรงเท่า ๆ กัน
2.3 กดแผงการ์ดเสียงลงไปตรง ๆ ให้เข้าไปในslot จนสุด
2.4 ใช้ไขควงขันน็อตยึดแผ่นเหล็กของการ์ดเข้ากับเคส
6. ปิดฝา Case
หลังจากที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องสำรวจไม่ให้มีตัวนำไฟฟ้า เช่น น็อตตกหล่นอยู่ในเคส จากนั้นให้เก็บสายเคเบิ้ลต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบแล้วจึงทำการปิดฝาเคส
1. นำฝาเคสมาวัดเข้ากับตัวเคสโดยเล็งให้ตัวล็อคที่ฝาตรงักบเคส
2. ใช้มือเลื่อนฝาเคสให้เข้าไปจนสุดของตัวล็อค
3. ใช้ไขควงขันน็อตเพื่อปิดฝาเคสเป็นขั้นสุดท้าย
7. ต่ออุปกรณ์ภายนอก
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วควรทดลองต่อสายภายนอกแล้วเปิดเครื่องดูก่อนเพื่อตรวจสภาพการใช้
งานข้อคิดการตรวจสอบก่อนเปิดเครื่อง
1. ตรวจสอบการติดตั้ง CPU ชุดระบายความร้อน และ RAM ว่าแน่นหรือเข้าล็อคหรือยังอย่า
ให้เอียงหรือไม่แนบสนิท
2. ตรวจสอบเมนบอร์ดว่ามีส่วนใดที่ติดกับตัวเครื่องหรือเปล่าเพราะอาจเป็นสื่อที่จะทำให้เกิด การลัดวงจรได้
3. ตรวจสอบไฟที่จ่ายเข้ากับอุปกรณ์ว่าครบหมดหรือยัง
4. ตรวจสอบสายสัญญาณทั้งหมดและสายแพที่ต่อกับอุปกรณ์ อย่าสลับเหลี่ยมกันเพราะจะทำ ให้เกิดการลัดวงจรได้
5. ตรวจสอบว่าการ์ดที่ต่อแน่นหรือยัง เสียบถูกช่องหรือเปล่า สายสัญญาณอื่นที่ต่อกับการ์ด เมื่อตรวจสอบความเรียบร้อยเสร็จแล้วเราสามารถลงมือเปิดเครื่องได้
8. ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
ในการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมต้องดูก่อนว่าที่ใช้งานจำเป็นหรือไม่ ถ้าติดตั้งอุปกรณ์มากเกินไป จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทำงานหนักเพิ่มมากขึ้น เครื่องจะทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร